วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน)

๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)
๒. อปัณณกปฏิปทา ๓ (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด)
๒.๑ อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา ห จมูก ลิ้น กาย ใจ )
๒.๒ โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา
๒.๓ ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
๓. สัปปุริสธรรม ๘ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี) บางทีเรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ เพราะนับเฉพาะสัทธรรม ๗ ในข้อ ๓.๑
๓.๑ สัทธัมมสมันนาคโต (ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ) คือ
ก. มีศรัทธา มีความเชื่อในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้
ข. มีหิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว
ค. มีโอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว
ง. เป็นพหูสูตหรือพหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังได้เรียนรู้มาก ความเป็นผู้มีสมาธิดีอยู่เป็นปกติ ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก เจนใจ ขบได้ด้วยทฤษฎี
จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว การปรารภความเพียร ทำความเพียรมุ่งมั่น มีความเพียรทรงตัว คือ เพียรละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดทิ้งธุระ
ฉ. มีสติมั่นคง ความมีสติระลึกสำรวมในอินทรีย์ ทรงสติตื่นอยู่เสมอ ไม่เผลอ
ช. มีปัญญา ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจชัดเจน เข้าใจหยั่งแยกแยะได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นตามความเป็นจริง(อาศัยกำลังของสมาธิ)
๓.๒ สัปปุริสภัตตี (ภักดีสัตบุรุษ คือ คบหาสมณพราหมณ์ ท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย)
๓.๓ สัปปุริสจินตี (คิดอย่างสัตบุรุษ คือ จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น)
๓.๔ สัปปุริสมันตี (ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ คือ จะปรึกษาการใด ก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น)
๓.๕ สัปปุริสวาโจ (พูดอย่างสัตบุรุษ คือ พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต ๔)
๓.๖ สัปปุริสกัมมันโต (ทำอย่างสัตบุรุษ คือ ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต ๔)
๓.๗ สัปปุริสทิฏฐิ (มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมาทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น)
๓.๘ สัปปุริสทานัง เทติ (ให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่น ให้โดยเอื้อเฟื้อทั้งแต่ของที่ตัวให้ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น)
๔. ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)
------------------------------------------------------------------------------
ดูเพิ่มเติม(อรูปฌาน ๔)http://www.larnbuddhism.com/grammathan/arupashan.html, http://poobpab.com/content/tripoom/prom_lok.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น