วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

วิชชา ๓ วิชชา ๘ ( และอภิญญา ๖ )

วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน )
๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)
๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้, รู้อารมณ์จิตของผู้อื่น)
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
๗. ทิพพจักษุหรือทิพพจักขุญาณ (ตาทิพย์)
๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)

ข้อที่ ๒ (เตรียมตัวที่จะปฏิบัติเพื่อ อภิญญา ๖ ต่อไป) โดยมากจัดเข้าในข้อที่ ๓ ด้วย ข้อที่ ๓ ถึง ๘ (๖ ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา ๖. ดู (๑๐๕) วิชชา ๓; (๒๖๐) อภิญญา ๖; (๒๙๙) วิปัสสนาญาณ ๙
-----------------------------------------------------------------------------
วิชชา ๓ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ) " เตวิชโช "
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้)
๒. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ)
๓. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้)
วิชชา ๓ ข้อ ๑ - ๓ ตรงกับวิชชา ๘ ข้อ ๖ - ๘ ("ทิพพจักขุญาณ" ในวิชชา ๘ ข้อ ๗ กับ "จุตูปปาตญาณ" ในวิชชา ๓ เป็นอย่างเดียวกัน คือ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย)
เมื่อเจริญอาโลกกสิณ(เพ่งแสงสว่าง) โอทาตกสิณ(เพ่งสีขาว) หรือ เตโชกสิณ(เพ่งไฟ) ใน ๓ อย่างนี้ ได้ทิพจักขุญาณ คือ ญาณที่มีความรู้เหมือนตาทิพย์แล้ว ทำสมาธิให้สูงขึ้นถึงฌานที่ ๔ ก็จะได้เจโตปริยญาณและจุตูปปาตญานเอง
เตวิชโช ได้จุตูปปาตญาณ(ทิพจักขุญาณ)แล้ว สามารถจะเห็น(คุย)เทวดาหรือพรหมได้ เห็นสัตว์นรก เห็นเปรต เห็นอสุรกายได้ แต่ว่าไม่สามารถจะไปหาได้
มโนมยิทธิ ได้ทิพพจักขุญาณ(จุตูปปาตญาณ)แล้ว สามารถใช้กำลังของจิตเคลื่อนออกจากกายไปสวรรค์ ไปพรหมโลกได้ มีกำลังสูงกว่าเตวิชโช
(มโนมยิทธิ นี้ อาจเรียกว่าเป็น อภิญญาเล็ก ก็ได้ หรือ กึ่งอภิญญา อาศัยการไปมาด้วยอทิสสมานกายแต่เพียงอย่างเดียว ส่วน อภิญญาใหญ่ นั้น ท่านไปไหนมาไหนกัน ก็ยกเอากายหยาบทั้งกายไปด้วย)

-----------------------------------------------------------------------------
กรรมฐานทั้ง ๔๐
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน แยกปฏิบัติเป็นหมวดหมู่ คือ
สุขวิปัสสโก สำหรับผู้ที่ต้องการเรียบ ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์เดช ทำแบบสบาย ๆ จิตใจไม่ชอบจุกจิก
เตวิชโช สำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็น ถ้ามีสิ่งปิดบังลี้ลับอยู่ ทนไม่ไหว ต้องหาให้พบ ค้นให้เห็น
ฉฬภิญโญ(อภิญญา ๖) สำหรับคนที่ต้องการมีฤทธิ์เดช
ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต สำหรับคนที่ต้องการรอบรู้ทุกอย่าง มีทั้งฤทธิ์ด้วย มีทั้งความเป็นทิพย์ของจิตด้วย มีความฉลาดด้วย

-----------------------------------------------------------------------------
ดูเพิ่มเติมที่ http://buddhasattha.com/2010/02/24/%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B41-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น