วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภารวรรคที่ ๓
อัสสาทสูตรที่ ๑ ว่าด้วย ความปริวิตกของพระโพธิสัตว์เกี่ยวกับขันธ์ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
อะไรเป็นคุณของเวทนา อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
อะไรเป็นคุณของสัญญา อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
อะไรเป็นคุณของสังขาร อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษ
อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า
สุขโสมนัส อันใดอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป
รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป

สุขโสมนัส อันใดอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา
เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทะราคะ ในเวทนาเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

สุขโสมนัส อันใดอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสัญญา
สัญญาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสัญญา
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในสัญญาเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งสัญญา

สุขโสมนัส อันใดอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร
สังขารใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสังขาร
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในสังขารเสียได้ นี้เป็นเป็นเครื่องสลัดออกแห่งสังขาร

สุขโสมนัส อันใดอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีคามแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ....

อัสสาทสูตรที่ ๒ ว่าด้วย สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้เที่ยวค้นหาคุณแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
เราได้พบคุณแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แล้ว
เราได้เห็นคุณแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เท่าที่มีอยู่ ด้วยปัญญาดีแล้

เราได้เที่ยวค้นหาโทษแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
เราได้พบโทษแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แล้ว
เราได้เห็นโทษแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เท่าที่มีอยู่ ด้วยปัญญาดีแล้ว
เราได้เที่ยวค้นหาเครื่องสลัดออกแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
เราได้พบเครื่องสลัดออกแห่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แล้ว
เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่ง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เท่าที่มีอยู่ ด้วยปัญญาดีแ
ล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

อัสสาทสูตรที่ ๓ ว่าด้วย คุณและเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าคุณแห่งรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แต่เพราะคุณแห่งรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)มีอยู่ ฉนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ถ้าโทษแห่งรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แต่เพราะโทษแห่งรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ได้ แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงพึงออกจากรูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอันหาขอบเขตมิได้ อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้องทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เพียงนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอันหาขอบเขตมิได้ อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้องทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์

-------------------------------------------------------------------------
อัสสาทสูตร พระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวรรค
-------------------------------------------------------------------------
สรุป อัสสาทสูตร
สุขโสมนัส อันใดอาศัยขันธ์ ๕ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ ใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของขันธ์ ๕
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในขันธ์ ๕ เสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์๕
พระพุทธองค์เที่ยวค้นหาคุณแห่งขันธ์ ๕ ได้พบคุณแห่งขันธ์ ๕ แล้ว ได้เห็นคุณแห่งขันธ์ ๕ เท่าที่มีอยู่ ด้วยปัญญาดีแล้ว ว่า
ถ้าคุณแห่งขันธ์ ๕ จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในขันธ์ ๕ แต่เพราะคุณแห่งขันธ์ ๕ มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในขันธ์ ๕
ถ้าโทษแห่งขันธ์ ๕ จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ แต่เพราะโทษแห่งขันธ์ ๕ มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕
ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕ จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากขันธ์ ๕ ได้ แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕ มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงพึงออกจากขันธ์ ๕ ได้
------------------------------------------------------------------------
ปัญหา การเจริญสมถะและวิปัสสนา มีอานิสงส์อย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย " ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมมีส่วนแหงวิชชา ธรรม ๒ อย่าง คืออะไร คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ "
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย " สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละราคะได้ "
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย " วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละอวิชชาได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย " จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ "
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย " เพราะเหตุนี้แล ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ..”
ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น